ตาราง 3.1 สมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ
*** ปรากฎอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 พบว่าคลอไรด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก (ยกเว้น BeCl2เป็นสารประกอบโคเวเลนต์) ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำเนื่องจากเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่โมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ สำหรับสารประกอบคลอไรด์ที่ละลายน้ำได้ พบว่าสารละลายคลอไรด์ของโลหะมีสมบัติเป็นกลาง (ยกเว้นBeCl2 และAlCl3 ซึ่งเป็นกรด) ส่วนสารละลายคลอไรด์ของอโลหะทุกชนิดมีสมบัติเป็นกรด สมบัติของสารประกอบคลอไรด์เหมือนหรือแตกต่างจากสมบัติของสารประกอบออกไซด์อย่างไร ให้พิจารณาจากตาราง 3.2
ตาราง 3.2 สมบัติบางประการของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3
* ใช้ความดันทำให้หลอมเหลว
** ระเหิดก่อนหลอมเหลวที่ความดัน 1 บรรยากาศ*** ปรากฎอยู่ในรูปโมเลกุลของธาตุ
จากตาราง 3.2 พบว่าออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง เนื่องจากอนุภาคของสารยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก สำหรับออกไซด์ของอโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะว่าอนุภาคยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ (ยกเว้นdisplaystyleSiO2 ซึ่งมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงมากเนื่องจากมีโครงสร้างเป็นโครงผลึกร่างตาข่าย) เมื่อพิจารณาสมบัติความเป็นกรด - เบส ของสารละลาย พบว่าออกไซด์ของโลหะที่ละลายน้ำได้ให้สารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส ส่วนออกไซด์ของอโลหะเมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด
เมื่อพิจารณาจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความเป็นกรด - เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 แล้วควรสรุปได้ว่า จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มคล้ายกันสำหรับคลอไรด์และออกไซด์ของโลหะที่ละลายน้ำจะได้สารละลายมีสมบัติเป็นกลางและเบสตามลำดับ ส่วนคลอไรด์และออกไซด์ของอโลหะเมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น