โลหะแทรนซิชั่น
ธาตุแทรนซิชัน
หมายถึงธาตุที่อะตอมหรือไอออนมีอิเล็กตรอนไม่เต็มในระดับพลังงานย่อย (d –
orbital หรือ f – orbital)1
ได้แก่ธาตุที่อยู่ตรงกลางและด้านล่างของตารางธาตุ
ธาตุแทรนซิชันยังแบ่งเป็นหมู่ต่าง ๆ เริ่มด้วยหมู่ IIIB,IVB,... VIIIB และ IB
ธาตุหมู่
VIIIB ประกอบด้วยธาตุถึง 9 ธาตุซึ่งมากกว่าหมู่อื่นๆ
เนื่องจากมีสมบัติใกล้เคียงกันมากจึงจัดไว้ในหมู่เดียวกัน
ข้อแตกต่างระหว่างธาตุแทรนซิชันกับธาตุหมู่หลัก
มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดจำแนกขอบเขตระหว่างธาตุหมู่หลักและธาตุแทรนซิชันทางด้านซ้ายของตารางธาตุ
ธาตุที่มีปัญหาเหล่านั้นได้แก่ สังกะสี (Zn) แคดเมียม (Cd)
และปรอท
(Hg)
ความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับธาตุเหล่านี้จะจัดจำแนกเป็นธาตุหมู่หลัก (main
group) หรือธาตุแทรนซิชันมีข้อแนะนำถึงความแตกต่างที่ยังไม่กระจ่างชัด
ธาตุแทรนซิชันมีความคล้ายคลึงกับธาตุหมู่หลักหลายอย่าง คือธาตุหมู่หลักทางซ้ายของตารางธาตุเป็นโลหะอ่อน
และดัดเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ง่าย นำความร้อน และนำไฟฟ้า
และสามารถให้อิเล็กตรอนแล้วมีประจุเป็นบวก (+)
ความจริงแล้วธาตุแทรนซิชันเป็นโลหะที่นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีที่สุด (เช่น
ทองแดง ; Cu) และโลหะในธาตุหมู่หลัก (หมู่ IIIA เช่น Al)
แสดงสมบัติทางกายภาพที่ก้ำกึ่งระหว่างธาตุแทรนซิชันและธาตุหมู่หลัก
1. มีข้อแตกต่างระหว่างโลหะทั้งสองพวกนี้
คือธาตุแทรนซิชันมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงกว่าโลหะในธาตุหมู่หลัก
เพราะฉะนั้นจึงสามารถเกิดสารประกอบโคเวเลนต์ได้ดีกว่า
2. ข้อแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างโลหะในธาตุหมู่หลักและธาตุแทรนซิชัน
ซึ่งเห็นได้จากสูตรของสารประกอบที่เกิดขึ้น โลหะในธาตุหมู่หลักจะเกิดเป็นเกลือ
[เช่น NaCl , Mg3N2 และ CaS] ซึ่งในสารเหล่านี้จะปรกอบด้วยไอออนลบที่สมดุลกับไอออนบวก
โลหะแทรนซิชันเกิดสารประกอบไอออนิกได้คล้ายกัน [เช่น FeCl3, HgI2 หรือ Cd(OH)2]
แต่มีส่วนที่แตกต่างคือสามารถเกิดไอออนเชิงซ้อน เช่น FeCl4-,
HgI42-,
and Cd(OH)42- ที่มีจำนานไอออนลบได้มากมาย
3.
ข้อแตกต่างอย่างที่สามระหว่างธาตุหมู่หลักทางซ้ายกับธาตุแทรนซิชันคือไอออนของธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดที่จะเกิดสารประกอบที่เสถียรกับโมเลกุลที่เป็นกลาง
เช่น น้ำ หรือแอมโมเนีย
สำหรับเกลือที่เกิดจากไอออนของโลหะในธาตุหมู่หลักจะละลายน้ำในรูปที่เป็นสารละลายน้ำ
(aqueous solutions)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น